บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรม
เทคโนโลยี และสารสนเทศ
นวัตกรรม
หมายถึง ความคิดหรือกระบวนการใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ทันสมัย
ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้เกิดความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อบุคคล สังคม
และเศรษฐกิจทั้งยังช่วยประหยัดเวลา แรงงานและทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
นวัตกรรม
เป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องมือกลและเทคนิคต่างๆ ที่มี3ลักษณะประกอบกันได้แก่
1.
จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้
(feasible idea)
2.
จะต้องสามารถนาไปใช้ได้ผลจริง (practical application)
3.
มีการเผยแพร่ออกสู่ชุมชน (Distribution)
นวัตกรรม
แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1
มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2
พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน
(Pilot Project)
ระยะที่ 3
การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
พบว่ามีอยู่ 3 ประเด็นที่เป็นมิติสำคัญของนวัตกรรม ก็คือ
1. ความใหม่ (Newness) สิ่ง ที่จะได้รับการยอมรับว่า
มีคุณลักษณะเป็นนวัตกรรมได้นั้นมิติแรกที่จะต้องมีก็คือ ความใหม่ หมายถึง
เป็นสิ่งใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจจะมีลักษณะเป็นตัวผลิตภัณฑ์บริการ
หรือกระบวนการ โดยจะเป็นการปรับปรุงจากของเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่เลยก็ได้
2. ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits) ใน
มิติประการที่สองที่ถูกกล่าวถึงเสมอในลักษณะของการเป็นนวัตกรรม ก็คือ
การให้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ หรือการสร้างความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ
นวัตกรรม จะต้องสามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาสิ่งใหม่นั้นๆ
ซึ่งผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะสามารถวัดได้เป็นตัวเงินโดยตรง
หรือไม่เป็นตัวเงินโดยตรงก็ได้
3. การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ (Knowledge and Creativity
Idea) ใน มิติที่สำคัญประการสุดท้ายของการเป็นนวัตกรรม
ที่สามารถสรุปได้จากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ก็คือ
การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ หมายความว่า
สิ่งที่จะถือเป็นนวัตกรรมได้นั้นจะต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้าง
สรรค์เป็นฐานของการพัฒนาให้เกิดขึ้นใหม่
ไม่ใช่เกิดจาการลอกเลียนแบบการทำซ้ำเป็นต้น
ลักษณะของนวัตกรรม
1. นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง
(Radical Innovation) หมายถึง ขบวนการการนำเสนอสิ่งใหม่ที่ใหม่อย่างแท้จริงสู่สังคม
โดยการเปลี่ยนแปลงค่านิยมและความเชื่อ
2. นวัตกรรมที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
เป็นขบวนการการค้นพบหรือคิดค้นสิ่งใหม่ที่มีลักษณะต่อเนื่องไม่สิ้นสุด โดยการประยุกต์ใช้
แนวคิดใหม่ หรือความรู้ใหม่ ของมนุษย์ และการค้นค้น
ประเภทของนวัตกรรม
1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) คือ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นหรือเป็นสิ่งใหม่ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่ต่อโลก ต่อประเทศหรือแม้แต่ต่อองค์กร
2. นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) เป็นการผลิตสินค้าหรือบริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิมเช่น การผลิตแบบทันเวลาพอดี
1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) คือ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นหรือเป็นสิ่งใหม่ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่ต่อโลก ต่อประเทศหรือแม้แต่ต่อองค์กร
2. นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) เป็นการผลิตสินค้าหรือบริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิมเช่น การผลิตแบบทันเวลาพอดี
นวัตกรรมการศึกษา
(Educational Innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว
เกิดแรงจูงใจในการเรียน ประหยัดเวลาในการเรียน และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
เช่น
- การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids
Instruction)
- การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video)
- สื่อหลายมิติ (Hypermedia)
- อินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้เป็นต้น
- การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video)
- สื่อหลายมิติ (Hypermedia)
- อินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ
ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน
1.
E-learning
2. สื่อประสม
3. สื่อหลายมิติ
2. สื่อประสม
3. สื่อหลายมิติ
เทคโนโลยี
คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ
มาผสมผสานเพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ ด้วยการนำทรัพยากรต่าง
ๆให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เองทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น
3 ลักษณะ
1.
เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ (Process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2.
เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (Product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้
กระบวนการทางเทคโนโลยี
3.
เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (Process and product) เช่น
ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทางานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกตาบุคคล
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกตาบุคคล
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษา
บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
-
ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก
-
ทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐานสามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ
-
ทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก มีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ
แหล่งที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น