การออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional
System Design
การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional
System design) มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional
design) การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional design and
development) เป็นต้น ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด
แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน
คือมาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ
การดำเนินงานใด
ๆ ก็ตาม ผู้รับผิดชอบจะต้องคำถึงถึงประสิทธิผล (Effectiveness) และประสิทธิภาพ
(efficiency) ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพนั้นมักจะนำแนวคิดของระบบ
(system) มาใช้
ทั้งนี้เพราะระบบจะประกอบด้วยวิธีการที่จะทำให้เราได้หลักการและกระบวนการในการทำงานเนื่องจากระบบจะมีกลไกในการปรับปรุง
แก้ไข การทำงานในตัวเองของมันเอง โดยการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ทั้งนี้ถ้าเราเข้าใจระบบเราก็สามารถนำแนวความคิดไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่าง
ๆ ได้
ความหมายของระบบ
ระบบเป็น องค์ประกอบต่างๆ
ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน
ซึ่งองค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้จะร่วมกันทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้
ลักษณะของระบบที่ดี
1.
มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (interact with
environment)
2.
มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ (purpose)
3.
มีการรักษาสภาพตนเอง (self – regulation)
4.
มีการแก้ไขตนเอง (self – correction)
ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีระบบ
เรื่องของวิธีระบบ
(System
approach) นั้น ได้มีการกล่าวถึงอ้างอิงกันมาก จริง ๆ
แล้วเกือบจะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดตามธรรมชาติจะถือว่าประกอบด้วยระบบอยู่ทั้งนั้น
จักรวาลจัดเป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดที่เรารู้จัก มนุษย์เป็นระบบย่อยลงมา ระบบแต่ละระบบมักจะประกอบด้วยระบบย่อย
(subsystem) และแต่ละระบบย่อยก็ยังอาจจะประกอบด้วยระบบย่อยลงไปอีก
ความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอน คือ
ศาสตร์ (Science) ในการกำหนดรายละเอียด
รายการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา การประเมินและการทำนุบำรุงรักษาให้คงไว้ของสภาวะต่าง ๆ
เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งในเนื้อหาจำนวนมาก หรือเนื้อหาสั้น ๆ
ปัญหาในระบบการเรียนการสอน
เป้าหมายหลักของครูหรือนักฝึกอบรมในการสอน คือการช่วยให้ผู้เขียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ และในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้นี้มีปัญหาหลัก ๆ
อยู่หลายประการที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องตระหนักและพยายามหลีกเลี่ยง
ปัญหาดังกล่าวคือ
1.
ปัญหาด้านทิศทาง (Direction)
2.
ปัญหาด้านการวัดผล (Evaluation)
3.
ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content
and Sequence)
4.
ปัญหาด้านวิธีการ (Method)
5.
ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ
(Constraint)
หลักการสอนโดย
โรเบิร์ต กาเย่ (Robert
Gange)
โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange') ได้นำเอาแนวแนวความคิด 9 ประการ มาใช้ประกอบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์
เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง
โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์
หลักการสอนทั้ง 9 ประการได้แก่
1.เร่งเร้าความสนใจ (Gain
Attention) ก่อนนำเสนอเนื้อหาบทเรียนควรมีการจูงใจและเร่งเร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากเรียน
2.
บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
ผู้เรียนจะได้ทราบถึงความคาดหวังของการเรียนและทราบถึงพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของตนเองหลังจบบทเรียนแล้ว
3.
ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)
ทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะนำเสนอความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน เช่น การทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)
4.
นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
การนำเสนอเนื้อหาบทเรียนควรนำเสนอภาพประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ ง่าย ได้ใจความ
5.
ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) ผู้เรียนจะจำเนื้อหาได้ดีหากมีการจัดระบบการเสนอเนื้อหาที่ดีและสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมของผู้เรียน
6.
กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit
Response) หากผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมคิด
ร่วมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหาและร่วมตอบคำถาม จะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่ใช้วิธีอ่านเพียงอย่างเดียว
7.
ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
บทเรียนจะกระตุ้นความสนใจจากผู้เรียนได้มากขึ้น ถ้าบอกเป้าหมายที่ชัดเจน
และแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าขณะนั้นผู้เรียนอยู่ที่ส่วนใด ห่างจากเป้าหมายเท่าใด
8.
ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess
Performance) การทดสอบความรู้หลังจากศึกษาบทเรียน (Post-test) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง
9.
สรุปและนำไปใช้(Review and Transfer)
การสรุปและนำไปใช้รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น