ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บบล็อก
สวัสดีค่ะผู้เข้าเยี่ยมชมทุกท่าน บล็อกนี้จัดทำขึ้นมาเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในการเรียนการสอนในรายวิชา นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 1/2556 สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3
โครงการสอน
รหัสวิชา PC54505 3(2-2-5)วิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา
Innovation, Technology and Information in Educationสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ภาคเรียน1/2556
________________________

คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การวิเคราะห์ ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการ เรียนรู้ การสร้าง การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนใน อนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

วัตถุประสงค์
เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
1. อธิบายความหมายของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
2. ยกตัวอย่างนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
4. บอกถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
5. บอกความหมายและประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ได้
6. อธิบายพื้นฐานการออกแบบการเรียนการสอนได้
7. อธิบายรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
8. ยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
9. อธิบายวิธีการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้
10. เสนอแนวทางในการสร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้อย่างน้อย 1 รายวิชา
11. สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมได้
12. ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างน้อย 3 เรื่อง


รูปแบบการเรียนการสอน
เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) กับการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนปกติ(Face-to-Face or Traditional Learning)


วิธีสอน
ใช้วิธีสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) และวิธีสอนแบบร่วมมือ ( Cooperative Learning)


เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 2 หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารมสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 3 การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 5 การออกแบบการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 6 นวัตกรรมการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 7 คอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 8 เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 10 แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน

หน่วยที่ 2

หน่วยที่ 2 หลักการแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ

ความหมายของนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา
          นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
           นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation ) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology))หมาย ถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุม องค์ประกอบ3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
จิตวิทยาการเรียนรู้  ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในด้านการศึกษา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น อาจสรุปได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
            -    กลุ่มที่มีความเชื่อในเรื่องพฤติกรรม หรือกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorists)
            -    กลุ่มที่มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทำงานของจิตและสติปัญญา หรือกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivists)
            -    กลุ่มทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivists)

นวัตกรรม    คือ  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   เช่นเทคนิคและวิธีการใหม่ๆที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นที่ยอมรับใช้โดยทั่วกัน
นวกรรม       คือ  ความคิดและการกระทำที่ใหม่ๆที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
นวกรรมทางการศึกษา  หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
เทคโนโลยีทางการศึกษา  คือ  การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สำหรับการสอนเพื่อช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์   เพื่อนำมาผลิตอุปกรณ์   เครื่องมือตลอดจนเทคนิคต่างๆ
เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน
นวัตกรรมและเทคโนโลยี    คือ  Innotech  การใช้ในการศึกษาคือใช้ในการเรียนการสอนใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันด้วยการนำเอาเทคนิคและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆมาใช้ร่วมกันใช้สื่อเทคนิควิธีการหลากหลาย
หลักการและทฤษฏีแนวคิดที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.จิตวิทยาทางการศึกษา
        1.1   ทฤษฏีการเรียนรู้
        1.2   ทฤษฏีความแตกต่างระหว่างบุคคล
        1.3    ทฤษฏีการพัฒนาการ
2.ทฤษฏีการสื่อสาร   เกี่ยวกับความต้องการสื่อความหมายให้คนทราบ
3.ทฤษฏีระบบ
4.ทฤษฎีการเผยแพร่
หลักการทฤษฏีทางจิตวิทยาการศึกษ
ทฤษฏีการเรียนรู้มี  2  กลุ่ม
1.       กลุ่มพฤติกรรม
2.       กลุ่มความรู้
       
 กลุ่มพฤติกรรม
ทฤษฏีการเสริมแรง  ของพาฟลอบ  การปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวสิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้น   ได้ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง
                ทฤษฏีความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
เจ้าของทฤษฏีนี้คือธอร์ไดร์  สิ่งเร้าหนึ่งๆย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลายๆอย่างจนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุดเขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ดังนี้
1.       กฎแห่งการผล
2.       กฎแห่งการฝึกหัด
3.       กฎแห่งความพร้อม
ทฤษฏีการวางเงื่อนไข
ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้าเหล่านั้นก็ทำให้เกิดการตอบสนอง
               
การนำทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานี้จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
                1. การเรียนรู้เป็นขั้นตอนขั้นพื้นฐาน(Step  By   Step)
                2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน  (Interaction)
                3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที(Feed  Bact)
                4. การได้รับการเสริมแรง(Reinforcement)
                ทฤษฏีการเรียนรู้
                ได้แก่  ตา หู จมูก ลิ้น และ ผิวหนัง
การรับรู้จากการเห็น75%   ได้ยิน  13%   สัมผัส 6%  กลิ่น  3%  รส  3%
                การรับรู้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพลหรือปัจจัยในการรับรู้   ได้แก่ลักษณะของผู้รับรู้   ลักษณะของสิ่งเร้า
                กลุ่มความรู้
                ทฤษฏีภาคสนาม  เช่นของไดเลอร์  (congnitive    Field  Theory )
เน้นความสำคัญของส่วนรวม   ดังนั้นแนวคิดของการสอนซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นส่วนรวมก่อนโดยเน้นเรียนจากประสบการณ์

ทฤษฎีพัฒนาการ
                ประหยัด จิราวรพงศ์  ได้กล่าวว่า
ทฤษฎีพัฒนาการของเปียเจท์
                ได้อธิบายว่าการพัฒนาสติปัญญาและความคิดของผู้เรียนนั้น เกิดจากการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม และผู้สอนควรจะต้องจัดสภาพแวดล้อม ทางการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความพร้อมของผู้เรียนด้วย
ทฤษฎีพัฒนาการของบรูนเนอร์
                ได้อธิบายว่าความพร้อมของเด็กสามารถจะปรับได้ ซึ่งสามารถจะเสนอเนื้อหาใดๆ แก่เด็กในอายุเท่าใดก็ได้แต่จะต้องรู้จักการจัดเนื้อหาและวิธีการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเหล่านั้น ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นจะต้องเข้าใจเด็กและรู้จักกระตุ้นโดยการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็ก
ทฤษฎีพัฒนาการของอิริคสัน
                ได้อธิบายว่า การพัฒนาการทางบุคลิกภาพย่อมขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอินทรีย์กับสภาพสังคมที่มีอิทธิพลมาเป็นลำดับขั้นของการพัฒนาและจะสืบเนื่องต่อๆไป เด็กที่มีสภาพสังคมมาดีก็จะมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีด้วย ดังนั้นผู้สอนควรจะสร้างสัมพันธภาพกับผู้เรียนให้ความสนใจเพื่อแก้ปัญหาค่า นิยมบางประการ
ทฤษฎีของกีเซล
                ได้อธิบายว่า พฤติกรรมของบุคคลจะขึ้นอยู่กับพัฒนาการซึ่งจะเป็นไปตามธรรมชาติและเมื่อถึงวัยก็สามารถกระทำพฤติกรรมต่างๆได้เอง ไม่จะเป็นต้องฝึกหรือเร่งเมื่อยังไม่พร้อม ในการจัดการเรียนการสอนผู้สอนจะต้องคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน
ทฤษฎีการสื่อสาร
รศ.ดร.สาโรช โศภี(2546) ได้กล่าวไว้ว่า
                การสื่อสาร (
communication ) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณหรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
                1. ผู้ส่งสาร (Source)
                2. ข่าวสาร (Message) 
                3. ช่องทางการสื่อสาร (Channel)
                4. ผู้รับสาร (Receiver) 
ทฤษฎีระบบ
                ทฤษฎีระบบ (Systems theory) จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20 ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขาโดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา
ทฤษฎีการเผยแพร่
                การเผยแพร่ (Diffusion) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้นวัตกรรมได้รับการยอมรับและถูกนำไปใช้โดยสมาชิกของชุมชนเป้าหมาย ฉะนั้นการเผยแพร่จึงเป็นกระบวนการซึ่งนวัตกรรม(Innovation) จะถูกนำไปถ่ายทอดผ่านช่องทางการสื่อสาร (communication channels) ในช่วงเวลาหนึ่ง (Time) กับสมาชิกที่อยู่ในระบบสังคมหนึ่ง(Social System) ให้เกิดการยอมรับ(Adoption) 
 การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม (Bloom’s Taxonomy)
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของบลูม
                บลูม (Bloom.1976) เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกันเชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนแน่นอน เพื่อให้ผู้สอนกำหนดและจัดกิจกรรมการเรียนรวมทั้งวัดประเมินผลได้ถูกต้อง
                บลูมได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐานว่า มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน
3 ด้านคือ
                - ด้านสติปัญญา
                - ด้านร่างกาย
                - ด้านจิตใจ
                และนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า
Taxonomy of Educational objectives”
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
                • การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
                • การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
                • การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
ความสามารถในการจำ
               • ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
               • การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว
               • การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้
               • การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง
แหล่งที่มา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น